: 0-2811-1741-5
: racer_official@racerlighting.com
: Monday - Friday : 08.00น. - 17.00น.
Colorlib Template

07 ราศีกรกฎ - พระพุทธชินราช

07 ราศีกรกฎ - พระพุทธชินราช

ต่อกันที่ชาวราศีกรกฎ ช่วงต้นปีเรื่องการงานจะดีแต่หลังจากนี้ไป
อาจจะต้องมีปัญหาให้คอยแก้อยู่บ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ
การไหว้พระก็จะช่วยเสริมดวงเราได้
สำหรับพระประจำราศีกรกฎนั้นคือ พระพุทธชินราช
พระคู่บ้านคู่เมืองที่ทุกคนต่างให้ความเคารพนับถือ
เชื่อกันว่าการไหว้พระพุทธชินราชนั้นจะพบแต่ความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
พบเจอแต่สิ่งดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 

  พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่มีลักษณะงดงาม ที่สุดในโลก

มีขนาดหน้าตักกว้าง ห้าศอก 1 คืบ ห้านิ้ว(2.875 เมตร) สูงเจ็ดศอก(3.5 เมตร) หล่อ

ด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปิดทองเป็นครั้งแรกเมื่อ

พ.ศ.2146และเมื่อ พ.ศ.2478 ได้มีการลงรักปิดทองเต็มองค์อีกครั้งหนึ่ง และเป็นการ

ถาวร อยู่จนทุกวันนี้

  พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารทางทิศตะวันนตกของวัดพระศรี

รัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงาย

พระพักตร์หันไปทางทิศ ตะวันตก (ด้านริมน้ำน่าน)

  พระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง ประดับเบิ้อง

พระปฤษฎางค์ ปราณีตอ่อนช้อยงดงามช่วยเน้นให้พระวรกายของพระพุทธชินราช งดงาม

เด่น ชัดเจนยิ่งขึ้น พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย แต่มีลักษณะพิเศษที่ แตกต่างไ ปจากสุโขทัยคลาสสิก เพราะมี พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง วงพระพักตร์ ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีพระอุณาโลมผลิก อยู่ระหว่างพระโขนง พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝังด้วยแก้วนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาท แบนราบ ค่อนข้างแคบ เมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และรูปท้าวเวสสุวัณ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ

   พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ต่างไปจาก

พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบอื่น ๆ อย่างชัดเจน เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยหมวดพิเศษ คือ พระพุทธชินราช ตามตำนาน การสร้างพระพุทธชินราช พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 พระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกันนั้น มี 3 องค์ คือ

  1. พระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบห้านิ้ว ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันตก

  2. พระพุทธชินสีห์ หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบสี่นิ้ว ณ วิหารทิศเหนือ

  3. พระศรี ศาสดา หน้าตักกว้าง สี่ศอกคืบหกนิ้ว ณ วิหารด้านทิศใต้


  ตำนานพระพุทธชินราช

ตำนานการสร้างพระพุทธชินราชปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่า พระมหาธรรมราชาที่ (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 

แห่งราชวงศ์พระรวง กรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 ตามพงศาวดารเหนือ 

ได้กล่าวเรื่องการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เจือนิยายไว้ มีใจความว่า 

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้สร้าง เมืองพิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรัสให้สร้างวัดพระรัตนมหาธาตุ 

มีพระมหาธาตุ รูปปรางค์ สูง 8 วา และ พระวิหารทิศ กับระเบียงรอบพระมหาธาตุ ทั้ง 4 ทิศ โปรดให้ช่างชาวชะเลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน 

และหริภุณชัย(ลำพูน) ร่วมมือกันสร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองสัมฤทธฺ์ 3 องค์ สำหรับประดิษฐานในพระวิหารทิศ ไ

ด้เริ่มทำพิธีเททองหล่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศกจุลศักราช 317 (พ.ศ.1498) 

เมื่อกะเทาะหุ่นออกแล้ว ทองคงแล่น ติดเป็นองค์พระบริบูรณ์เพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ กับพระศรีศาสดา 

ส่วนพระพุทธชิราชทองไม่แล่นติดเต็มพระองค์ ต้องทำพิธีหล่อต่อมาอีก 3 ครั้งก็ยังไม่สำเร็จ 

ครั้งหลังสุด พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ต้องตั้งสัษจาธิษฐาน แล้วทำพิธีเททองหล่อเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง 

นพศกจุศักราช 319 (พ.ศ.1500) จึงสำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์

ในการหล่อครั้งหลังสุดนี้ปรากฏว่ามีปะขาวผู้หนึ่งจะมาแต่ใด ไม่มีใครทราบได้มาช่วยปั้นหุ่น 

และเททองหล่อพระด้วยเมื่อสร็จพิธีหล่อพระแล้ว ปะขาวก็ออกเดินทาง ไปทางเหนือเมือง

พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายตัวไปไม่มีผู้ ใดพบเห็นอีก ดังนั้น จึงเข้าใจกันว่าปะขาว ผู้นั้นคือ เทวดา 

แปลงตัวมาช่วยหล่อพระพุทธชินราชจึงได้พุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก เลยเป็นเหตุให้เกิด ความเลื่อมใสในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น 

ส่วนหมู่บ้านที่ปะขาวไปหายตัวนั้น ก็เลยได้นามในภายหลังว่า บ้านปะขาวหาย หรือตาผ้าขาวหาย มาจนทุกวันนี้


(พระพุทธชินราช ในพระราชนิพนธ์ของ ร.5 พ.ศ.2460)


สนใจสินค้า :  Racer (racerlighting.com)
เครดิต.wongnai